อ่านมาตั้งนาน รู้หรือยังการอ่านคืออะไร?
รู้หรือยังการอ่านคืออะไร แล้วมีกี่ประเภท ถ้าคุณยังไม่รู้วันนี้ English Everyday ขอเสนอความหมายการอ่าน และประเภท ลุยกันเล๊ย!
1.ความหมายของการอ่าน
ในโลกปัจจุบันการอ่านเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะนักเรียนนักศึกษา การอ่านเป็นทักษะที่สำคัญอย่างยิ่ง ยิ่งอ่านมาก ยิ่งมีความรู้มาก แล้วที่อ่านไปรู้หรือยังว่า การอ่านมีความหมายอย่างไรบ้าง แต่ละคนให้ความนิยามการอ่านไว้อย่างไรบ้าง เราไปดูความหมาย และนิยามพร้อมๆกันเลย!
ปรีชา ช้างขวัญยืน (2517 : 18) ได้ให้ความหมายไว้ว่า การอ่านคือ การถ่ายทอดตัวอักษรออกมาเป็นความคิด ด้วยการรับรู้ข้อมูลมาแปลความหมายและสรุปผลออกมาเป็นความคิดของตนเอง ทำให้เกิดความเข้าใจ ซึ่งสอดคล้องกับ ศิธร แสงธนู และ คิด พงศหัต (2521 : 13) ซึ่งกล่าวถึงการอ่านว่า “เป็นการแปลสัญลักษณ์ได้แก่ตัวอักษรออกมาให้ความหมายตรงตามที่ผู้เขียนตั้งใจ”
แอ็ดเลอร์ ( Mortimer J Adler ) (สุขุม เฉยทรัพย์. 2529 : 1-2 ; อ้างอิงจาก Mortimer J Adler. 1959. How to Read a Book. หน้า27) นิยามการอ่านไว้ว่า “การอ่านหมายถึงกระบวนการตีความหรือสร้างความเข้าใจจากตัวอักษรหรือสัญลักษณ์อื่นๆ ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจมากขึ้น กระบวนการต่างๆที่ก่อให้เกิดความเข้าใจนี้เรียกว่า ศิลปะการอ่าน”
สนิท ตั้งทวี (2531, หน้า 2) ได้ให้ความหมายของการอ่านไว้ว่า การอ่าน หมายถึง การแปลความหมายของตัวอักษรออกมาเป็นถ้อยคำหรือความคิด แล้วนำความคิดนั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์ตัวอักษรเป็นเพียงเครื่องหมายแทนคำพูด และคำพูดก็เป็นเพียงเสียงที่ใช้แทนของจริง อีกทอดหนึ่ง หัวใจของการอ่านจึงอยู่ที่การเข้าใจความหมายของคำที่ปรากฏอยู่ในข้อความ
จากผู้รู้ทั้งสามท่าน English everyday ขอสรุปได้ว่า การอ่านเป็นกระบวนการตีความเพื่อสร้างความเข้าใจจากตัวอักษรหรือสัญลักษณ์ที่ได้อ่าน การอ่านยังสามารถถ่ายทอดตัวอักษรออกมาเป็นความคิด และทำให้เกิดความเข้าใจในเรื่องราวที่ได้อ่าน จะช่วยให้เกิดความรู้ทางด้านวิชาการ ความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนยกระดับจิตใจของผู้อ่าน อีกทั้งการอ่านยังทำให้เกิดความเข้าใจร่วมกันของคนในประเทศชาติ และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ
2.จุดมุ่งหมายการอ่าน
ทุกครั้งที่อ่านเรามักจะกำหนดจุดมุ่งหมายในการอ่านใช่มั้ยล่ะ ? เช่นการอ่านเพื่อเตรียมตัวสอบ หรือ การอ่านเพื่อผ่อนคลาย แล้วคุณรู้มั้ยการอ่านมีจุดมุ่งหมายอะไรบ้าง ถ้ายังไม่รู้ไปรู้พร้อมกันเลย!
จุดมุ่งหมายในการอ่านนั้นแล้วแต่ผู้อ่านจะกำหนดอย่างไร แต่วันนี้English everyday ขอเสนอจุดมุ่งหมายที่มักจะพบบ่อยๆในการอ่าน
2.1 อ่านเพื่อเข้าใจความหลัก
2.2 อ่านเพื่อเข้าใจข้อเท็จจริง และรายละเอียดปลีกย่อยบางอย่าง
2.3 อ่านเพื่อเข้าใจเทคนิควิธีที่จะตีความจากตารางกราฟ แผนภูมิ
2.4 อ่านเพื่อวิจักษ์ วิจารณ์ และประเมินคุณค่า
2.5 อ่านเพือเขียนรายงานทางวิชาการประจำภาคการศึกษา
3.กระบวนการอ่าน
การอ่านเป็นกระบวนการที่มีองค์ประกอบอย่างน้อย 3 อย่างลำดับนี้
https://lisclassroomonline.wordpress.com
การอ่านไม่ใช่แค่กระบวนการรับรู้แต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นกระบวนการแห่งปฎิสัมพันธ์ที่ผู้อ่านจะต้องแสดงพฤติกรรมต่างๆร่วมไปด้วยขณะอ่าน เช่น คิดตาม คล้อยตาม มีอารมณ์ร่วมกับสิ่งที่อ่าน หรือโต้แย้งเป็นต้น
4.ชนิดของการอ่าน
ในชีวิตจริงเราอาจจะแบ่งชนิดการอ่านไม่ได้โดยเด็ดขาด เราอาจจะอ่านเพื่อความรู้หรือเพื่อความบันเทิง แต่ถ้าหากเราต้องการแบ่งชนิดการอ่านก็สามารถแบ่งได้ 4 ชนิดด้วยกัน
4.1 Reading for Practical Purposes
เป็นการอ่านสิ่งต่างๆที่ให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เช่น การอ่านฉลากยาเราจะต้องอ่านอย่างละเอียดถี่ถ้วน การอ่านชนิดนี้มักจะเสนอข้อเท็จจริงต่างๆอย่างตรงไปตรงมา
4.2 Reading for General Knowledge
เป็นการอ่านเรื่องราวหรือข้อมูลต่างๆเพื่อเพิ่มพูนความรู้หรือสติปัญญาทั่วๆไป เช่นการอ่านเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมสังคม รวมทั้งประสบการณ์ที่จะช่วยให้ผู้อ่านมีโลกทัศน์ที่กว้างขึ้น แต่ในขณะที่อ่านผู้อ่านควรจะต้องทำใจเป็นกลางไม่ลำเอียง ไม่ควรมีอารมณ์เกลียดชัง หรืออคติส่วนตัวมาเกี่ยว
4.3 Reading for Pleasure
เป็นการอ่านเพื่อความบันเทิงและพักผ่อน เป็นการเพื่อความรื่นรมย์เป็นส่วนตัว เช่น การอ่านนวนิยาย เรื่องสั้นเป็นต้น อาจจะอ่านโดยใช้เวลาการอ่านเร็วสูงหรือช้าก็ได้ โดยมักจะพบว่าการอ่านประเภทนี้ตามปกติมักจะอ่านได้เร็วกว่าประเภทอื่น
4.4 Reading for Academic Purposes
เป็นการอ่านเพื่อการศึกษาค้นคว้า การอ่านชนิดนี้มีจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือ ต้องการที่จะอ่านครอบคลุมเนื้อหาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ นอกจากต้องเข้าใจความหมายตรง(denotation) แล้วยังต้องเข้าใจความหมายแฝง(connotation)อีกด้วย
เป็นยังไงกันบ้างรู้จักการอ่านเพิ่มขึ้นใช่มั้ยล่ะ แล้วการอ่านของคุณล่ะนิยามว่าอะไร มาแชร์คำตอบกันได้นะคะ!
แหล่งอ้างอิง
ปรีชา ช้างวัญยืน. (2517). พื้นฐานของการใช้ภาษา. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.
สุขุม เฉยทรัพย์. 2529 : 1-2 ; อ้างอิงจาก Mortimer J Adler. 1959. How to Read a Book. หน้า27
เอกสารประกอบการบรรยายในรายวิชา EEC1305 การอ่านเพื่อการวิเคราะห์สำหรับครูภาษาอังกฤษ หนังสือการอ่าน ความหมาย กระบวนการอ่านชนิดและจุดมุ่งหมาย เรื่องชนิดของการอ่าน มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา