How to กรอกแบบนี้ได้งานชัวร์ !
ใบสมัครงานที่ผู้สมัครต้องกรอกตอนที่ไปสมัครงานตามบริษัท ห้างร้านต่าง ๆ นั้น จะมีลักษณะ ต่างๆกันในแต่ละแห่ง แต่โดยส่วนรวมแล้วมักจะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันแทบทุกแห่ง โดยมีรายละเอียดการกรอกดังนี้
วิธีการกรอกใบสมัครงานภาษาอังกฤษ
1. หลักการเบื้องต้น (How to complete an application form)
1.1 ทำความเข้าใจกฎเกณฑ์ของใบสมัคร (Read clear what the procedures are) เช่น ให้เขียนหรือพิมพ หรือข้อความตอนใดที่ต้องเขียนด้วยอักษรตัวพิมพ์
1.2 ตอบคำถามในใบสมัครให้ครบถ้วน (Complete all questions) ข้อความใดที่ไม่ต้องการก็ให้ทำเครื่องหมายหรือใส่ข้อความลงไป
1.3 กรอกใบสมัครให้ดูน่าสนใจที่สุด (Make it clean, clear,accurate interesting, and wellpresented) หมายถึงเขียนให้สะอาดเรียบร้อยและเลือกเฉพาะประเด็นที่น่าสนใจมากที่สุด
1.4 เตรียมคำถามที่อาจถูกถามจากการกรอก (Prepare to be questioned about what you filled in) เป็นการเตรียมคำอธิบายว่าสิ่งที่เรากรอกลงไปนั้น ถ้าต้องการคำอธิบายเพิ่มเติมจะอธิบายเพิ่มเติมได้อย่างไร
1.5 กรอกใบสมัครให้เสร็จโดยเร็วและรีบส่งทันที (Complete and submit an application assoon as possible).
2.การกรอกประวัติส่วนตัว (Personal Details)
2.1 การเขียนชื่อ เขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งชื่อ (Name) และนามสกุล (Last Name / Surname) โดยใส่คำนำหน้าชื่อด้วย เช่น Mr. , Mrs. , Miss. , Ms. , บางแห่งจะให้เขียนทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
ตัวอย่าง
ชื่อ: นายสมบัติ RAKDI (อังกฤษ)
NAME : นายสมบัติ รักดี (THAI)
2.2 การเขียนที่อยู่ (Address) ควรเขียนให้ละเอียด การเขียนชื่อทางภูมิศาสตร์(Geographical name) นั้นสามารถเขียนทับศัพท์ได้เลย เช่น Soi (ซอย)13- Thanon (ถนน-แต่คำว่าถนนสามารถใช้คำว่า Road แทนได้เพราะเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป) Amphoe / khet (อำเภอ / เขต) Changwat (จังหวัด จะเขียนนํหน้าชื่อหรือ ไม่ก็ได้ เพราะชื่อจงัหวัดต่าง ๆ เป็นที่รู้จักกันดีแล้ว) และอย่าลืมใส่รหัสไปรษณีย์ตัวอย่าง
Present Address 622/151 Soi Suan Luang, Charansanitwong Rd., Khet Bangkoknoi, Bangkok 10700
การเขียนที่อยู่ในบางครั้งจะมีช่องสำหรับกรอก 2 ช่องคือ
-
Home Address / Present Residence(ที่อยู่บ้าน) หรืออาจใช้ Permanent Address ที่อยู่ถาวร คือที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน
-
Mailing Address หมายถึงที่อยู่ที่ต้องการให้ติดต่อทางไปรษณีย์
**กรณีที่สถานที่อยู่เป็นสถานที่เดียวกันทั้งสองช่อง ผู้สมัครไม่จำเป็นต้องเขียนข้อความซ้ำกันควรเขียนว่า As above หรือ Same as above หมายถึงที่อยู่เหมือนกับสถานที่อยู่ข้างต้น
2.3 สถานภาพทางการสมรส (Marital Status) และข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ(Personal Data)
ผู้สมัครต้องกาเครื่องหมาย / ลงหน้าช่องที่เว้นไว้
ตัวอย่าง
Single (โสด)
Married (แต่งงานแล้ว)
Widowed (เป็นหม้าย)
Married with no children (แต่งงานแล้วแต่ยังไม่มีบุตร)
Divorced (หย่า) Separated (แยกทางกัน)
*ในกรณีที่แต่งงานแล้ว จะต้องกรอก
Marriage Cert. No .. (หมายเลขใบทะเบียนสมรส)
Issued at . (ออกให้ที่อำเภอ หรือเขต)
Dated Issued (วัน เดือน ปีที่ออกใบทะเบียนสมรส )
Spouse (ชื่อคู่สมรส)
-
Birthdate (วัน เดือน ปีเกิด) เช่น May 1, 1970
-
Birthplace / Nataive Place (สถานที่เกิด) ให้เขียนชื่อจังหวัดที่เกิด เช่น Pattani
-
ID Card No. (เลขประจำตัวบัตรประชาชน) เช่น 2 9099 00050 11 6
-
Issued at (สถานที่ออกบัตร) เช่น Amphoe Panare, Pattani
-
Date Issued / Dated (วันที่ออกบัตร) เช่น October 12, 1990
-
Expiry date / Valid Until (วันที่บัตรหมดอายุ) เช่น October 11, 1996
-
Religion (ศาสนา) เช่น Buddhism / Islam / Catholic / Protestant
-
Taxpayers No. (หมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี)
-
Social Security No. (เลขประจำตัวบัตรประกันสังคม)
2.4 สถานภาพทางการทหาร (Military Status) มี 3 สถานภาพคือ
-
Serving หมายถึง การอยู่ในระหว่างรับราชการทหาร เช่น กำลังอยู่ในภาวะเป็นทหารเกณฑ์
-
Completed หมายถึง ผ่านการเกณฑ์ทหารมาแล้วโดยการเป็นทหารเกณฑ์
-
Exempted หมายถึง ได้รับการยกเว้นโดยการเรียน ร.ด.จบหลักสูตร หรือจับฉลากได้ใบดำ หรือร่างกายไม่ได้ขนาด หรือกำลังเป็นนักศึกษา
ในบางครั้งเราต้องบอกเหตุผลของการได้รับการยกเว้นว่าเป็นเพราะอะไร (With reason) สามารถบอกได้หลายวิธี เช่น
-
Finished Reserved Officers Training Corps Course (R.O.T.C.) (สำเร็จหลักสูตรรักษาดินแดน) หรือจะใช้ว่า
-
Finished Military Service Training of Territorial Defence Course (สำเร็จหลักสูตรรักษาดินแดน
-
Reserved Status หรือ Reservist (ทหารกองหนุน)
-
Registered Status หรือ Registrant (ทหารกองเกิน)
-
Exempted through Military Drawing Ballot (ผ่านการเกณฑ์ทหาร เพราะจับฉลากได้ใบดำ)
-
Exempted by Being Undersize (เพราะร่างกายไม่ได้ขนาด)
-
by physical disability (เพราะจุดบกพร่องของร่างกาย) -
by being a student (เพราะเป็นนักศึกษา)
2.5 สุขภาพ (Health Conditions) ส่วนใหญ่จะถามถึงสุขภาพและโรคประจำตัวหรือการได้รับอุบัติเหตุว่าเป็นอย่างไร คำศัพท์ที่ถามเกี่ยวกับโรคภัย ได้แก่
-
Physical disabilities or defects – ข้อบกพร่องทางร่างกาย
-
Handicap – ความพิการ
-
Chronic disease – โรคติดต่อ
-
Serious mental illness – การเจ็บป่วยทางจิต
-
Serious physical illness – การเจ็บป่วยทางกาย
-
Colour blindness – โรคตาบอดสี
ช่องเกี่ยวกับสุขภาพเรามักจะตอบว่า ไม่เคยเป็นโรค หรืออาการเจ็บป่วยเพราะฉะนั้นเราจึงไม่ตอบโดยวิธีเขียนว่า N/A (Not Applicable) หมายถึง ไม่กรอกข้อความหรือไม่มีข้อมูล
ตัวอย่าง
ความพิการทางร่างกายหรือแต้มต่อหรือโรคเรื้อรัง (เช่นมองเห็นการได้ยินการพูดการตาบอดสีอ่อนแอหัวใจ)
2.6 รายละเอียดเกี่ยวกับครอบครัว (Family Details) ในใบสมัครจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับ ชื่อบิดา-มารดา พี่-น้อง และจุดที่สำคัญคือ อาชีพของแต่ละคน คำศัพท์ที่ใช้กรอกในช่องอาชีพ(Occupation) มีดังนี้
-
Civil Servant (Government Official) ข้าราชการพลเรือน
-
Retired Government Official ข้าราชการบำนาญ
-
Officer รับราชการ (ทหาร ยศร้อยตรีขึ้นไป)
-
Sub Lieutenant ร้อยตรี (Sub. Lt.)
-
Lieutenant ร้อยโท (Lt.)
-
Army Captain ร้อยเอก (Army Capt.)
-
Soldier รับราชการ (ทหาร ยศต่ำกว่าร้อยตรี)
-
Sergeant Major First Class จ่านายสิบเอก (จ.ส.อ.)
-
Sergeant Major Second Class จ่าสิบโท (จ.ส.ท. )
-
Sergeant Major Third Class จ่านายสิบตรี (จ.ส.ต.)
-
Sergeant สิบเอก (ส.อ.)
-
Self-Employed หรือ Own Business ทำงานส่วนตัว
-
State Enterprise Employee พนักงานรัฐวิสาหกิจ
-
Employee ลูกจ้าง
-
Trader ค้าขาย
ในกรณีที่ทำงานในอาชีพที่มีเกียรติ หรืออาชีพที่ใช้ความรู้ทางวิชาการ หรืออาชีพที่รู้จักกันกว้างขวางในสังคม หรือ ได้รับการยอมรบั จากสังคม(Profession) เราอาจจะใส่ชื่ออาชีพนั้น ๆ ไปก็ได เช่น นายแพทย์ (Doctor) ทนายความ (Lawyer) ครู-อาจารย์ (Instructor) วิศวกร (Engineer) เป็นต้น
3.การกรอกประวัติการศึกษา (Educational Background)
3.1 ระดับประถมศึกษา (Educational Level)
-
Primary (ระดับประถมศึกษา)
-
Secondary (ระดับมัธยมศึกษา)
-
Vocational / Technical (ระดับอาชีวะ หรือวิชาชีพ)
-
College (ระดับวิทยาลัย)
-
University (ระดับมหาวิทยาลัย)
3.2 วุฒิการศึกษา (Degree / Certificate)
-
Certificate, Diploma ประกาศนียบัตร
-
High School Certificate ประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลาย
-
Certificate of Technical Vocation ประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.)
-
Certificate of Vocational Education (Cert. Of Voc.Ed.) ประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) หรือ
-
Vocational Certificate (Voc. Cert.) ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
-
Diploma / High vocational Certificate (Dip. / High Voc. Cert.) ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
-
Bachelor of Science (B. Sc.) ปริญญาตรีทางด้านวิทยาศาสตร์
-
Bachelor of Engineering (B.Eng.) ปริญญาตรีทางด้านวิศวกรรมศาสตร์
-
Bachelor of Industrial Technology (B.Ind.Tech.)ปริญญาตรีด้านอุตสาหกรรมศาสตร์
-
Bachelor of Accountancy (B.Acct.) ปริญญาตรีด้านบัญชี
-
Bachelor of Business Administration (B.BA.) ปริญญาตรีด้านบริหารธุรกิจ
หลังคุณวุฒิการศึกษาควรที่จะใส่สาขาวิชาที่สำเร็จการศึกษาโดยเติมคำว่า in หรืออยู่ในวงเล็บ และ ตามด้วยสาขาวิชา เช่น
-
Auto Mechanics ช่างยนต์
-
Machine Shop Mechanics ช่างกลโรงงาน
-
Mechanical Technology ช่างยนต์
-
Electrical Engineering วิศวกรรมไฟฟ้า
-
Building Construction ช่างก่อสร้าง
-
Mechanical Engineering วิศวกรรมเครื่องกล
-
Civil Construction ช่างก่อสร้าง / ช่างโยธา
-
Electronics Engineering วิศวกรรมอิเล็อนิกส์
-
Electrical Power Technology ช่างไฟฟ้ากำลัง
-
Civil Engineerin วิศวกรรมโยธา
-
Architectural Drawing ช่างเขียนแบบสถาปัตยกรรม
-
Surveying ช่างสำรวจ
-
Electronics Technology ช่างอิเล็กทรอนิกส์
-
Accounting การบัญชี
-
Marketing การตลาด
-
Finance and Banking การเงินและการธนาคาร
-
Human Resource Management การจัดการทรัพยากรมนุษย์
-
Business English ภาษาอังกฤษธุรกิจ
-
Computer Science วิทยาการคอมพิวเตอร์
-
Industrial Engineering วิศวกรรมอุตสาหการ
** หมายเหตุ ถ้าช่องสำหรับกรอกการศึกษาเว้นประเภทของโรงเรียนไว้ให้ผู้สมัครเติมข้อความเองผู้สมัครควรที่จะเขียนการศึกษาสูงสุดที่ตนเองได้รับก่อน และเขียนการศึกษาย้อนหลังไปอีกระดับหรือสองระดับก็เป็นการเพียงพอ ส่วนใบสมัครที่ได้กำหนดระดับการศึกษาไว้ในใบสมัครแล้ว ผู้สมัครก็ต้องเขียนรายการตามที่ใบสมัครกำหนดไว้เช่น
ในบางครั้งมีการระบุว่าต้องเขียนสถานที่ตั้ง (Location) ของสถาบันการศึกษาด้วยซึ่งหมายถึงชื่อ
จังหวัดที่สถาบันนั้น ๆ ตั้งอยู่ เช่น Phuket Technical College, Phuket
4. การกรอกความสามารถพิเศษ (Language Proficiency)
ความสามารถพิเศษจะแบ่งกลุ่มใหญ่ ๆได้ 2 ลักษณะ คือ
4.1 ความสามารถทางภาษา (Language Proficiency) ภาษาต่างประเทศที่ใช้กรอก ได้แก่
-
English ภาษาอังกฤษ
-
Japanese ภาษาญี่ปุ่น
-
Chinese ภาษาจีน ควรจะระบุด้วยว่าเป็น Taechiew ภาษาจีนแต้จิ๋ว
-
Mandarin ภาษาจีนกลาง
-
Cantonese ภาษาจีนกวางตุ้ง
วิธีระบุความสามารถทางภาษาจะมีด้านต่าง ๆ เช่น Speaking, Reading, Writing, Understanding
ผู้กรอกมีวิธีการกรอกโดยเติมศัพท์ดังนี้
4.2 ความสามารถด้านอื่น ๆ (Career Qualifications) ความสามารถที่จะเป็นการเพิ่มคุณสมบัติของเราเพื่อประโยชน์ในการสมัครงาน เช่น ด้านกีฬา หรือด้านอาชีพ เช่น
-
Computer repair and knowledge of software : ซ่อมคอมพิวเตอร์และมีความรู้เรื่องซอฟต์แวร์
-
Knowledge of setting up computer networks : มีความรู้ในการติดตั้งข่ายงานคอมพิวเตอร์
-
Knowledge of CAD and computer systems : มีความรู้ในการออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย
-
Able to write program with BASIC, C language : สามารถเขียนโปรแกรมภาษาเบลิคและภาษาซี
-
Machine design or equipment making : การออกแบบเครื่องจักรกลหรือการสร้างอุปกรณ์
-
Mechanical engineering design : การออกแบบทางวิศวกรรมเครื่องกล
-
Knowledge in switchboard design on manufacture and wiring works : มีความรู้ด้านการออกแบบแผงสวิตซ์เพื่อการผลิต และงานเดินสายไฟฟ้า
-
Practical ability to operate PC and other OA equipment : มีความสามารถเชิงปฏิบัติในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และอุปกรณ์สำนักงานอัตโนมัติ
-
Ability in troubleshooting, modification and maintenance for electronics measurement equipments : มีความสามารถในการตรวจซ่อม การดัดแปร และการบำรุงรักษาอุปกรณ์การวัดทางอิเล็กทรอนิกส์
-
Working knowledge of computers using spreadsheets and data bases. : มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์ สามารถใช้แผ่นตารางทำการและฐานข้อมูล
-
Goodknowledge ของฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งสเปรดชีตโปรแกรมสร้างฐานข้อมูลการสื่อสาร LAN และกราฟิก: มีความรู้อย่างดีด้านฮาร์ดแวร์ เครื่องประมวลคำฐานข้อมูล
-
Production planning, material supply or executing production lines process : การวางแผนการผลิต การจัดหาวัสดุ หรือการดำเนินการขบวนการสายการผลิต
-
The capability to prepare and review full-scale tenders : มีความสามารถในการเตรียมการ และวิเคราะห์การประมูลราคาโครงการขนาดใหญ่
5. ประสบการณ์การทำงาน (Experience)
ในใบสมัครงานทุกบริษัทจะมีช่องประสบการณ์การทำงานไว้เพื่อจะได้รู้ว่าผู้สมัครนั้นเคยผ่านงานอะไรมาบ้าง การกรอกประสบการณ์ก็เหมือนกับการกรอกประวัติการศึกษาคือ ให้กรอกการทำงานล่าสุดก่อนแล้วค่อยย้อนหลังลงไปจนถึงการทำงานครั้งแรก สำหรับการกรอกประวัติการทำงานมักมีรายละเอียดดังนี้
5.1 ตำแหน่งที่ทำงาน (Position) เช่น
-
Technician นายช่างเทคนิค
-
Foreman หัวหน้าควบคุมงาน
-
Junior Foreman หัวหน้าควบคุมงาน (ผู้ช่วย)
-
Senior Foreman หัวหน้าควบคุมงาน (ระดับสูง)
-
Supervisor ผู้ควบคุมงาน
-
Assistant Supervisor ผู้ช่วยผู้ควบคุมงาน
-
Engineer วิศวกร
-
Assistant Engineer ผู้ช่วยวิศวกร
-
Inspector ผู้ตรวจสอบ
-
Manager ผู้จัดการ
5.2 เหตุผลที่ลาออก (Reason for Leaving) เช่น
-
ไม่มีความคืบหน้า
-
Limited career opportunity ไม่มีความก้าวหน้าในอาชีพ
-
Company Discontinued บริษัทเลิกกิจการ
-
Unsuitable Position ตำแหน่งไม่เหมาะสม
-
Contract Terminated สิ้นสุดสัญญา
-
การศึกษาต่อไป
-
To get higher education เพื่อศึกษาต่อ
-
ศึกษาต่อ
-
Military Service เพื่อเข้าเป็นทหาร
-
Needed Better Job ต้องการงานที่ดีกว่า
-
Company Loss บริษัทขาดทุน
-
Company Reduced Manpower บริษัทลดพนักงาน
-
Temporary Employ เป็นงานชั่งคราว5.3 สถานที่ทำงาน (Work Place) เช่น
-
Electricity Generating Autority of Thailand (EGAT) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
-
ประเทศไทยโรงงานยาสูบโรงงานยาสูบ
-
Metropolitan Water Works Authouity การประปานครหลวง
6. เรื่องเบ็ดเตล็ด (Miscellaneous)
ผู้กรอกต้องกรอกในหัวข้อดังนี้
6.1 ตำแหน่งที่สมัคร ให้กรอกตามประกาศที่รับสมัครโดยให้ตรงตามคุณวุฒิและข้อกำหนดของตำแหน่งนั้น ๆ
6.2 เงินเดือน การกรอกเงินเดือนควรกรอกเป็นช่วงเพื่อให้นายจ้างมีทางเลือกที่จะพิจารณา เช่น 9,000 – 10,000 บาท การกรอกเงินเดือนไม่ควรให้ต่ำหรือสูงเกินไป ในกรณีที่ผู้สมัครไม่ ต้องการจะกรอกจำนวนเงิน อาจจะกรอกข้อความอย่างอื่นได้ เช่น
Negotiable เงินเดือนแล้วแต่จะตกลง
Is up to your consideration เงินเดือนแล้วแต่จะพิจารณา
ตัวอย่าง
เงินเดือนที่ต้องการ 3,000 3,500 / เดือน
ต่อรองเงินเดือน
6.3 คำถามเกี่ยวกับการกระทำความผิด มีดังนี้
-
Have you ever been arrested, คุณเคยถูกจับกุมหรือไม่
-
taken into custody, เคยถูกคุมขัง
-
held for investigation, เคยถูกสอบสวน
-
the offence charged? ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด
-
Do not give minor traffic ไม่ต้องกล่าวถึงการฝ่าฝืนกฎจราจร
-
violations เล็กน้อย
6.4 คำถามเกี่ยวกับการถือครองใบอนุญาตต่าง ๆ เช่น
-
Driving Licence / Driver s License ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์
-
Auditing Licence ใบอนุญาตการตรวจสอบบัญชี
-
Registered Engineering Licence ใบประกอบอาชีพวิศวกร
-
Certified Professional Auditor ใบประกอบอาชีพผู้ตรวจสอบบัญชี
-
Teaching Licence ใบประกอบวิชาชีพครู
ตัวอย่าง
– คุณถือใบอนุญาตใด ๆ ถ้าใช่อะไร?
– ใช่ที่ลงทะเบียนใบอนุญาตวิศวกรรม
6.5 คำถามเกี่ยวกับการเริ่มเข้าทำงาน
– เมื่อคุณจะมีการเริ่มต้นการทำงาน?
– ฉันจะสามารถใช้ได้ / กันยายน 1 / ทุกที่ทุกเวลาที่คุณต้องการ
7. การเขียนผู้รับรอง (Reference)
ควรที่จะเขียนอย่างน้อย 2 คน หรือตามจำนวนที่ระบุไว้ในใบสมัคร ซึ่งในใบสมัครงานมักจะระบุว่าผู้รับรองต้องไม่ใช่ญาติ (Relatives) กับผู้สมัคร การเขียน ชื่อ สกุล ผู้รับรองนั้นต้องมีคำรำหน้านามเสมอ ในกรณีผู้รับรองมียศทางทหาร / ตำรวจ หรือตำแหน่งทางราชการ บริหาร/ การเมือง หรือตำแหน่งทางวิชาการ (ผศ. Asst. prof. รศ. Assoc. Prof. ศ. Prof) ควรที่จะเขียนด้วยเพื่อความน่าเชื่อถือ
ตัวอย่าง
การอ้างอิง – ครูคนมืออาชีพและธุรกิจที่ได้รู้จักคุณ
กว่าห้าปี ไม่ได้ใช้ชื่อของญาติ
เป็นยังไงกันบ้างทีนี้เวลาจะไปสมัครงานที่ไหน ก็กรอกตามนี้นะ ได้งานชัวร์ๆ!
แหล่งอ้างอิง