top of page

How to อ่านกราฟและแผนภูมิ!

     การอ่าน ตาราง และแผนภูมิต่าง ๆ ให้เข้าใจได้โดยตลอดนั้น เป็นทักษะที่ค่อนข้าง จําเป็นและมีคุณประโยชน์มาก โดยเฉพาะเวลาอ่านข้อเขียนทางวิชาการตามที่ปรากฏอยู่ ในหน้าหนังสือพิมพ์ วารสารทางวิชาการ หรือหนังสือที่เกี่ยวกับวิชาทางด้านสังคมวิทยา เศรษฐศาสตร์ การศึกษา ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ เราจะพบอยู่เสมอ ว่าผู้เขียนมักจะใช้สื่อประเภทนี้เข้าช่วยประกอบคําอธิบายขยายความ

ก่อนอื่นเรามารู้จักประเภทและหน้าตาของ ตาราง กันก่อน

          1.ประเภทของตาราง

             การนำเสนอข้อมูลด้วยตาราง จำแนกตามจุดประสงค์ของการนำเสนอและลักษณะของข้อมูล

           2.1 ตารางแบบทางเดียว (Simple / one way table)

                  ตารางที่มีการจำแนกเพียงลักษณะเดียวเท่านั้น แสดงแค่เพียงหัวข้อเดียว

 

 

https://sites.google.com/a/bumail.net/

          2.2 ตารางแบบสองทาง (Two - way table)

                 ตารางที่มีการจำแนกลักษณะสองลักษณะ 

https://www.teacherspayteachers.com/Product/Two-way-Tables-4584866

          2.3 ตารางแบบหลายทาง (Manifold table, multi - way table)

                  ตารางที่มีการจำแนกตั้งแต่สามลักษณะขึ้นไป

https://www.teacherspayteachers.com/Product/Two-way-Tables-4584866

 

     คำแนะนำในการอ่านตาราง

          1. ใช้เวลาประมาณ 2-3 นาที พิจารณาดูรูปแบบลักษณะทั่ว ๆ ไปของตาราง หรือแผนภูมิที่จะอ่านเสียก่อน

          2. เมื่อรู้สึกคุ้นดีแล้ว ให้ใช้วิธีการอ่านแบบสํารวจ (Survey) และ “แบบกวาดสายตา” (Scanning) อ่านชื่อตาราง หรือชื่อแผนภูมิ (caption) นั้น ๆ ก่อน เพราะชื่อหรือ คําบรรยายสั้น ๆ นี้จะบอกให้เราทราบว่าตารางที่จะอ่านต่อไปจะเกี่ยวกับเรื่องอะไร ต่อ จากนั้นอ่านหัวข้อเรื่องต่าง ๆ (headings) ซึ่งทําหน้าที่แยกข้อมูลออกเป็นกลุ่ม และภายใต้ หัวข้อเรื่องเหล่านี้บางอันจะมีหัวข้อเรื่องย่อยแบ่งออกไปอีก หัวข้อเรื่องต่าง ๆ ทั้งหมดนี้ จะบอกให้เราทราบว่า ข้อมูลในแต่ละคอลัมน์นั้นเกี่ยวข้องกับรายละเอียดของเรื่องอะไรบ้าง

          3. ศึกษาสัญลักษณ์ (legend) ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในตาราง และคําอธิบายที่เกี่ยวกับ สัญลักษณ์เหล่านี้ให้เข้าใจ ต่อจากนั้น ดูรายละเอียดและตัวเลขต่าง ๆ ในแต่ละคอลัมน์ โดย ใช้วิธีการอ่านแบบกวาดสายตาจากบนลงล่างในลักษณะแนวตั้งก่อน แล้วจึงอ่านจากซ้าย ไปขวาในลักษณะแนวนอนข้ามแต่ละคอลัมน์ไป ขณะที่อ่านพยายามสังเกตด้วยว่า ข้อมูล อะไรหรือตัวเลขจํานวนไหนที่มีลักษณะค่อนข้างจะแปลกไปจากกลุ่ม คือจะอยู่ในลักษณะ ปลายสุดทั้งสองข้าง จนแทบไม่น่าเชื่อ พิจารณาดูว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ หรือเปล่า พอจะเชื่อถือได้มากน้อยขนาดไหน

          4. ขั้นสุดท้ายให้กลับมาอ่านตารางนั้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง คราวนี้พยายามวิเคราะห์ ตรวจสอบกับเนื้อหาเรื่องราวดูว่า ข้อสงสัยบางอย่างที่เกิดขึ้นระหว่างการอ่านครั้งแรกนั้น มีคําตอบหรือเหตุผลพอที่จะรับได้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม เมื่อเข้าใจเทคนิคและแนวทาง ต่าง ๆ แล้ว การที่จะอ่านและตีความข้อมูลอื่น ๆ ต่อไปก็จะทําได้โดยไม่ยาก

ต่อไปเรามาดู ประเภทของแผนภูมิกันบ้าง

 

     2.ประเภทของแผนภูมิ (Types of charts and graphs)

        2.1 Bar graphs (แผนภูมิแท่ง)

                         คือกราฟที่ประกอบด้วยรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า (เรียกว่า แท่ง) จำนวนหนึ่ง โดยมีลักษณะเป็นแท่งสูงหรือยาวที่เปลี่ยนแปลงตามขนาด แต่มีความกว้างเท่ากันหมด เราอาจเรียงแท่งเหล่านี้ในทางตั้งหรือทางนอนก็ได้

             ข้อมูลที่เหมาะสำหรับการใช้แผนภูมิแท่งในการนำเสนอข้อมูล ได้แก่ ข้อมูลที่จำแนกตามคุณภาพ ตามกาลเวลา และตามภูมิศาสตร์

 

https://www.youtube.com/watch?v=0lOeWOHXZdg

        2.2 แผนภูมิวงกลม (Pie graphs)

               เป็นการนำเสนอข้อมูลโดยใช้พื้นที่วงกลมแบ่งออกเป็นส่วนย่อยต่างๆ กัน ตามจำนวนข้อมูล การนำเสนอแบบนี้จะต้องแปลงจำนวนข้อมูลให้เป็นอัตราร้อยละก่อน แล้วจึงแบ่งพื้นที่วงกลมตามอัตราร้อยละ ข้อมูลที่จะนำเสนอด้วยวิธีนี้จะต้องเป็นข้อมูลที่สมบูรณ์และจบอยู่เฉพาะเรื่องที่จะนำเสนอและต้องเป็นข้อมูลของทั้งหมดด้วย

           http://oknation.nationtv.tv/blog/m2/2008/08/05/entry-1

       

        2.3 แผนภูมิเส้น (Line graphs)

                เป็นแผนภูมิเส้นกราฟที่เกิดจากการลากเส้นเชื่อมต่อกันระหว่างจุด (plot) ต่อจุดตามลำดับซึ่งจุดต่างๆ เหล่านั้น    ได้จากการลงจุด (plotting) ระหว่างค่า x และ y วัตถุประสงค์ของการนำเสนอด้วยแผนภูมิเส้น ก็เพื่อที่จะให้มองเห็นการกระเพื่อมขึ้นลง (fluctuation) หรือแนวโน้ม (trend) ของกราฟ หรือข้อมูลใด ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา 

https://sites.google.com/site/presentbychart/phaenphumi-sen

       

         

เป็นยังไงกันบ้าง สามารถอ่านตารางและแผนภูมิได้แล้วใช่มั้ย สามารถทอดลอง ทำแบบฝึกหัด (คลิ๊กที่นี่) ได้นะ 

แหล่งอ้างอิง

https://sites.google.com/a/bumail.net/patitta-tama/ge112-information-technology-and-the-future-world/week-1

 

bottom of page