top of page

การอ่านเชิงวิพากย์วิจารณ์ คืออะไร ? 

          การอ่านเชิงวิพากษ์วิจารณ์ คือ Critical Reading เป็นทักษะการอ่านระดับสูง ทักษะนี้จำเป็นต้องฝึกฝนเพื่อให้เกิดความชํานาญเฉพาะตนขึ้นให้ได้ การอ่านเชิงวิพากษ์วิจารณ์นี้ เป็นการอ่านที่ต้องใช้สติปัญญาและความสามารถ ค่อนข้างสูง ผู้อ่านต้องรู้จักใช้วิธีการอ่านอย่างมีประสิทธิภาพ

     

 

https://thematter.co/science-tech/when-we-should-teach-kids-to-critical-thinking/32762

 

การอ่านเชิงวิพากษ์วิจารณ์

         คือ การคิดอย่างมีวิจารณญาณนั่นเอง เป็นเรื่องของการพินิจพิจารณา อย่างรอบคอบ การสร้างมโนคติ การลงสรุปข้อวินิจฉัย หรือการไตร่ตรองอย่างมีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้บรรลุถึงข้อสรุปต่าง ๆ ได้ในที่สุด

      การอ่านเชิงวิพากษ์วิจารณ์ยังหมายรวมไปถึงการแสวงหาสาระสําคัญ การประเมิน คําข้อมูล การแยกแยะและเปรียบเทียบแหล่งข้อมูล การสังเคราะห์สิ่งที่ค้นพบ ทั้งยังรวม ถึงความสามารถในการพินิจพิเคราะห์อย่างระมัดระวัง และการแปลเจตนาของผู้เขียนได้

ขั้นตอนการอ่านเชิงวิพากย์วิจารณ์

             1. อ่านสิ่งที่จะต้องวิพากษ์วิจารณ์ให้เข้าใจโดยตลอดก่อน

          2. ประเมินคุณค่าสิ่งที่อ่านอย่างมีวิจารณญาณและรอบคอบ โดยคํานึงถึงความ ถูกต้อง ความซื่อสัตย์ และความเหมาะสมของสิ่งที่อ่าน

          3. แยกแยะข้อเท็จจริงจากสิ่งที่อ่านให้ได้ พยายามทําความเข้าใจสิ่งที่ผู้เขียนกล่าว ไว้ให้ชัดแจ้ง

          4. ตรวจสอบแหล่งข้อมูล โดยการพิจารณาผู้เขียนให้ละเอียดถี่ถ้วนซึ่งได้แก่ ชื่อเสียง วัตถุประสงค์ ความสามารถ ความน่าเชื่อถือ แนวความคิด ตลอดจนความโน้มเอียงต่าง ๆ

          5. วิเคราะห์เนื้อหา ตรวจสอบข้อพิสูจน์ต่าง ๆ ของผู้เขียน ความสมเหตุสมผล และความถูกต้องแน่นอนของข้อมูลและข้อสรุป การอุปมาอุปไมย การสรุปลงความเห็น เกินความเป็นจริงหรือคลุมเครือหรือสั้นเกินไปจนผิดพลาด พยายามทําความเข้าใจการ กล่าวอ้างโดยนัยของผู้เขียนซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของการใช้ถ้อยคําหรือสํานวนภาษา ลีลา การเขียน และน้ําเสียง ตลอดจนเข้าใจการใช้เทคนิควิธีในการโฆษณาชวนเชื่อ และเรียก ร้องให้เกิดอารมณ์และความรู้สึกต่าง ๆ

การตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของเนื้อหา

     ในการตรวจสอบเนื้อหาหรือข้อความใด ๆ ก็ตามว่ามีความถูกต้องและสมบูรณ์ มากน้อยเพียงใด เราอาจจะต้องพิจารณาสิ่งอื่น ๆ เป็นองค์ประกอบร่วมไปด้วย เช่น ดูว่า ชื่อเรื่องกับจุดมุ่งหมายของเนื้อหาสาระที่กําลังอ่านอยู่นั้นมีความสัมพันธ์ พอจะไปด้วยกัน ได้ไหม เรื่องราวหรือข้อมูลล้าสมัยแล้วหรือยัง ซึ่งจะดูได้จากวันเดือนปีของหนังสือที่พิมพ์ และครอบคลุมหัวข้อเรื่องได้หมดทุกแง่ทุกมุมหรือไม่ ต่อจากนั้นควรจะไปพิจารณาจุด มุ่งหมายและแง่คิดต่าง ๆ ของผู้เขียน พยายามทําความเข้าใจให้ได้ว่าผู้เขียนมีจุดมุ่งหมาย อะไร ต้องการจะ “บอกกล่าว” “ให้ความเพลิดเพลิน” “โน้มน้าวจูงใจให้เชื่อ” หรือเพื่อ จุดมุ่งหมายใด

     ในการอ่านเชิงวิพากษ์วิจารณ์ ผู้อ่านควรระวังว่าบางครั้งผู้เขียนจะใช้วิธีการจูงใจ ต่าง ๆ เพื่อให้ผู้อ่านเชื่อถือคล้อยตาม วิธีการจูงใจเหล่านี้บางครั้งอาจมีลักษณะคล้ายโฆษณา ชวนเชื่อ

     เทคนิควิธีที่สําคัญ ๆ ซึ่งใช้ในการชักจูงจิตใจและโน้มน้าวอารมณ์ของผู้อ่านให้ เกิดความเชื่อถือคล้อยตาม ได้แก่

                 1. การให้ฉายา(Name calling)

                      ให้ฉายาที่ทำให้เกิดปมด้อย เช่น ฉายาจากเชื้อชาติ ศาสนา การเมืองเป็นต้น

                 2.ใช้ข้อความสร้างความประทับใจ (Glittering Generalities)

                     ใช้ข้อความหรือถ้อยคำที่สร้างความประทับใจ  ให้ความรู้สึกไปในทางที่ดี แต่จริงๆแล้วอาจจะฟังแค่ดูดีเท่านั้น เช่น ความเป็นธรรมทางสังคม (Social justice) เป็นต้น 

                 3.ทำให้ผู้อ่านยอมรับได้ (Testimonial)

                    ทำให้ผู้อ่านยอมรับจากสิ่งที่มีอิทธิพล อำนาจที่คนส่วนใหญ่เห็นชอบ เช่น ญาญ่าสระผมด้วยยี่ห้อ English everyday อยู่เสมอ ก็เป็นการโฆษณายาสระผมนั่นเอง

                 4.ธรรมดาสามัญ (plain Folks)

                     เป็นวิธีโน้มน้าวใจคนด้วยวิธีธรรมดาสามัญ เช่น นักการเมืองที่ทำตัวง่ายๆ ให้ดูเหมือนเข้าถึงชาวบ้านได้ง่ายๆตอนหาเสียง

                 5.หลีกเลี่ยงข้อเท็จจริง (Card stacking)

                    เป็นวิธีการหลีกเลี่ยงข้อเท็จจริง โดยใช้คำพูดให้เกิดประโยชน์กับตนเอง หรือเรียกง่ายๆว่า การตอบไม่ตรงคำถาม เช่น

Q : คุณคิดเห็นอย่างไรกับนายกคนปัจจุบัน

A : เลือกตั้งมันเป็นสิ่งที่ดีมากเลยนะ 

จะเห็นได้ว่าผู้ตอบหลีกเลี่ยงที่จะบอกว่า ชอบหรือไม่ชอบตรงๆ แต่จะเบี่ยงประเด็นไปในเรื่องอื่นแทน

                 6.ใครๆเขาก็ทำกัน (Bandwagon)

                    เป็นหลักการดึงดูดความสนใจและให้เห็นคล้อยตามในที่สุดเช่น ไอโฟน 12 ออกใหม่ ใครๆเขาก็มีกัน เป็นต้น

                 7.ขาดเหตุผลสนับสนุน (Non - Sequitur)

                    เป็นคำกว่าวที่ดูเผินๆ แล้วอาจจะเป็นจริงก้ได้ แต่เมื่อลองพิจารณาแล้วจะเห็นว่าไม่สมเหตุสมผลกัน 

เป็นยังไงบ้าง อ่านหนังสือต้องพินิจพิจารณากันเยอะๆนะ!

แหล่งอ้างอิ

เอกสารประกอบการบรรยายในรายวิชา EEC1305 การอ่านเพื่อการวิเคราะห์สำหรับครูภาษาอังกฤษ หนังสือการอ่านตารางและแผนภูมิ การอ่านเชิงวิพากย์  เรื่องการอ่านเชิงวิพากย์วิจารณ์  มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

bottom of page