top of page

How to อ่านอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

เป็นกันไหม ที่อ่านหนังสือเท่าไหร่ก็จำไม่เคยได้  หรืออ่านมากแค่ไหนก็ยังจำไม่เข้าใจอยู่ดี วันนี้English everyday  ขอเสนอการอ่านอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

          ก่อนอื่นเลย คุณเป็นคนที่มีนิสัยเหล่านี้มั้ย ปากขยับ ชอบพึมพำเวลาอ่านหนังสือ ชอบอ่านย้อนไปย้อนมา หรือชอบใช้นิ้วชี้ตามบรรทัดที่อ่าน ถ้ามีนิสัยเหล่านี้หยุดซะ! เพราะอาการเหล่านี้จะทำให้คุณอ่านหนังสือไม่มีประสิทธิภาพ แล้วจะมีวิธีแก้อย่างไรล่ะ ถ้ามีนิสัยแบบนี้ติดตัว

1.Faulty Reading Habits

          การอ่านเป็นเรื่องของการสร้างมโนภาพจากตัวหนังสือให้เกิดเป็นรูปธรรมขึ้นมาให้ได้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ก็จะมีตัวการขัดต่อการมโนภาพในหัวของเรา ลักษณะนิสัยที่ไม่พึงประสงค์ มีดังนี้

               1.1 Lip Movement

                คือการขยับริมฝีปากขณะกำลังอ่านในใจเป็นสาเหตุหนึ่งที่พบบ่อยที่สุด และการอ่านแบบขยับริมฝีปากจะช่วยทำให้เราอ่านได้ช้าลง 

               วิธีแก้ Lip Movement

               - เอาปากกาคาบดินสอนไว้ขณะที่อ่าน ซึ่งจะทำให้ขยับริมฝีปากหรือลิ้นไม่ได้

   

http://oknation.nationtv.tv/blog/print.php?id=894137

               1.2 Vocalization and Subvocalization

               คือการทำเสียงพึมพัม หรือออกเสียงในขณะที่อ่าน จะทำให้การอ่านข้อความแต่ละวรรคแต่ละตอนไปเร็วไม่ได้ 

                วิธีแก้Vocalization and Subvocalization

                - เอาปากกาคาบดินสอนไว้ขณะที่อ่าน ซึ่งจะทำให้ขยับริมฝีปากหรือลิ้นไม่ได้

   

http://alonsodental.es/malas-practicas-dientes/

 

            1.3 Head Movement

               คือการอ่านแบบขยับศีรษะไปมาระหว่างที่อ่าน โดยปกติคนเราอ่านหนังสือจะมีแค่สายตาขยับ ถ้าคุณเกิดอาการชอบส่ายศีรษะไปด้วยระหว่างที่อ่าน เพราะการอ่านแบบนี้จะให้คุณอ่านคลาดเคลื่อนและช้าลง

               วิธีแก้Head Movement

                - แก้ไขโดยเอามือทั้งสองยันแก้มทั้งสองข้าง หรือว่าข้างเดียวก็ได้แล้วเอาข้อศอกยันไว้กับโต๊ะอีกทีนึง

              1.4 Finger Pointing

               คือการใช้นิ้วชี้ตัวหนังสือ นิสัยนี้อาจจะติดมาตั้งแต่เราเริ่มต้นเรียนภาษาไทยที่คุณครูมักจะให้ชี้นิ้วอ่านตามคำนั้นๆ การอ่านแบบนี้จะทำให้เราอ่านช้าลง และเกิดความไม่มั่นใจในตนเอง  

               วิธีแก้Finger Pointing

               - แก้ไขโดยเอามือกอดอกไว้หรืออาจใช้วิธีแก้อย่างเดียวกันกับ การส่ายศีรษะ ก็ได้

https://board.postjung.com/1151959

         

          1.5 Regression

                คือการอ่านย้อนกลับไปกลับมา  มีผู้อ่านเป็นจำนวนมากขณะที่อ่านข้อความในแต่ละบรรทัดหรือในแต่ละประโยคผ่านไปแล้ว เกิดอาการไม่มั่นใจในสิ่งที่ตนเองอ่านไป การมีนิสัยการอ่านแบบนี้จะทำให้เราอ่านได้ช้า และสับสนเนื้อหาที่เราอ่าน

                วิธีแก้ Regression

                - แก้ไขโดยเอาไม้บรรทัดมาวางปิดตัวหนังสือในแต่ละบรรทัดที่ได้อ่านผ่านไป เมื่ออ่านจบถึงตรงไหนก็เอาไม้บรรทัดเลื่อนมาปิด วิธีนี้จะช่วยให้เราไม่กลับไปอ่านประโยคเดิมๆอีก

          แล้วนิสัยที่ควรมีล่ะ มีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย!

2.Aspects of Efficient Reading

          การอ่านที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น นอกจากจะไม่มีปัญหาดังที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว ยังต้องประกอบด้วยคุณลักษณะเฉพาะที่สำคัญบางอย่างต่อไปนี้

          2.1 Flexibility

                คือความยืดหยุ่น  ต้องรู้จักปรับอัตราความเร็วและการเลือกใช้ เทคนิควิธีการอ่าน  

ให้เหมาะสมถูกต้อง  การที่รู้ว่าเมื่อไหร่ควรจะยืดหยุ่นหรือเปลี่ยนแปลงความเร็วในการอ่านหรือจะใช้เทคนิคการอ่านอย่างไรนั้น จะขึ้นอยู่กับเนื้อหาและเรื่องราวที่จะอ่านด้วย เช่น ถ้าเราอ่านหนังสือเตรียมตัวสอบเราก็จะอ่านแบบ Intensive Reading (การอ่านแบบเข้ม)  แต่ถ้าเราอ่านหนังสือพิมพ์เราอาจจะอ่านแบบ skimming (อ่านแบบข้ามคำ)                          

          

          2.2 Comprehension

                คือความเข้าใจ สามารถที่จะอนุมานข้อสารสนเทศได้  เข้าใจเนื้อหาหรือองค์ประกอบในเรื่องราวที่อ่าน สามารถลำดับเหตุกาณ์ เรื่องราว หรือความคิดต่างๆได้ถูกต้อง ถ้าอ่านแล้วไม่เกิดความเข้าใจใดๆเลย แสดงว่าการอ่านที่แท้จริงยังไม่เกิด และความเข้าใจองค์ประกอบที่สำคัญๆพอสรุปได้ดังนี้

                - สามารถจดจำเรื่องราวส่วนใหญ่ที่อ่านมาแล้วได้

                - สามารถจับใจความสำคัญได้

                - สามารถตีความเกี่ยวกับเรื่องราวหรือข้อคิดเห็นที่อ่านมาแล้วได้ ว่ามีนัยสำคัญหรือลึกซึ้งมากน้อยเพียงใด

               - สามารถสรุปลงความเห็นจากสิ่งที่อ่านมาได้อย่างถูกต้อง

               - สามารถใช้วิจารณญาณของตนเองพิจารณาไตร่ตรองข้อสรุป หรือการอ้างอิงต่างๆของผู้เขียนได้อย่างถูกต้อง

               - สามารถถ่ายโอนความรู้ได้ 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

https://sites.google.com/site/yanisasae07/sara-kar-reiyn-ru-1

          2.3 Concentration    

                คือสมาธิ ซึ่งมีความสำคัญเกี่ยวข้องกับการอ่านและความเข้าใจด้วยเหมือนกัน ถ้าสมาธิขณะที่อ่านไม่ดี จิตใจวอกแวกไม่สงบพอ ถึงแม้ว่าจะอ่านต่อไปนานแค่ไหนก็จะทำให้การอ่านไม่มีทางเข้าใจเนื้อหาที่อ่านได้เลย ดังนั้นเราควรจะทำสมาธิก่อนอ่าน พยายามหลีกเลี่ยงบรรยากาศที่มีเสียงอึกทึก 

 

https://www.netclipart.com/isee/woRRJi_working-clipart-sleepless-/

แหล่งอ้างอิง 

เอกสารประกอบการบรรยายในรายวิชา EEC1305 การอ่านเพื่อการวิเคราะห์สำหรับครูภาษาอังกฤษ หนังสือการอ่าน ความหมาย กระบวนการอ่านชนิดและจุดมุ่งหมาย เรื่องการอ่านอย่างมีประสิทธิภาพ  มหาวิทยาราชภัฎสวนสุนันทา

bottom of page